Blog

ต้อหิน ใครควรตรวจ? และตรวจอะไรบ้าง? EP3

ผู้ที่มีอายุ มากกว่า 40 ปี หรือ มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นต้อหิน ควรมาพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยภาวะโรคต้อหินเป็นประจำทุกปี เนื่องจากโรคต้อหินในระยะแรกมักไม่มีอาการ ดังนั้นการตรวจตาโดยจักษุแพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคได้เร็ว สามารถป้องกันไม่ให้สูญเสียการมองเห็นได้

การตรวจต้อหิน หรือ ตรวจคัดกรองโรคต้อหิน จักษุแพทย์จะตรวจอะไรบ้าง? (Glaucoma workup)

  1. ตรวจวัดสายตาเบื้องต้น
    ได้แก่ ตรวจวัดการมองเห็น (Visual acuity), ตรวจวัดค่าสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Auto refraction)

2.ตรวจตาด้วยกล้อง Slit lamp โดยจักษุแพทย์
วิธีการตรวจตาด้วยเครื่องมือ slit lamp นี้ จักษุแพทย์จะสามารถตรวจตาได้อย่างละเอียด โดยเฉพาะ
2.1 ตรวจดูลักษณะ และกายวิภาคของตาทั่วไป ตั้งแต่กระจกตา น้ำในช่องหน้าม่านตา ม่านตา เลนส์ตา
2.2 ตรวจดูมุมตา ว่า มุมตาเป็นแบบเปิดหรือปิด
2.3 ตรวจวัดความดันลูกตา ด้วยวิธีมาตรฐานโดยการสัมผัสตา

  1. ตรวจขั้วประสาทตา
    การตรวจดูขั้วประสาทตา ว่ามีลักษณะเหมือนขั้วประสาทตาที่เป็นต้อหินหรือไม่?
    3.1.ตรวจด้วยเครื่อง slit lamp โดยจักษุแพทย์จะใช้เลนส์ช่วยส่องเข้าไปผ่านรูม่านตา เพื่อให้มองเห็นขั้วประสาทตาที่อยู่ด้านหลังของลูกตา
    3.2.การถ่ายรูปขั้วประสาทตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอตาระบบดิจิตอล

การถ่ายรูปจอประสาทตา จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายกล้องถ่ายรูปขนาดใหญ่ถ่ายรูปจอประสาทตาด้านหลังลูกตา จะสามารถมองเห็นได้ทั้งขั้วประสาทตาและจอประสาทตาโดยรวม และสามารถถ่ายภาพเน้นรายละเอียดของขั้วประสาทตาได้ด้วย

3.3.การตรวจขั้วประสาทเพื่อดูความหนาเส้นประสาทตาด้วยเครื่อง OCT

4. ตรวจลานสายตา

การวินิจฉัยโรคต้อหิน

จักษุแพทย์จะวินิจฉัยโรคต้อหินได้นั้น จะต้องอาศัยความละเอียดในการซักประวัติ ตรวจตาอย่างละเอียด ทั้งตรวจมุมตา ตรวจวัดความดันลูกตาให้แม่นยำ การตรวจดูขั้วประสาทตาอย่างละเอียด และการตรวจวัดลานสายตา ร่วมกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์พิเศษอื่นๆเข้ามาช่วยร่วมวินิจฉัยด้วย ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำ และ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

“ การวินิจฉัยโรคต้อหิน ยิ่งเรารู้เร็ว วินิจฉัยได้เร็ว เริ่มต้นการรักษาได้เร็วเท่าไหร่ เราจะสามารถควบคุมและไม่ให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นที่ลุกลามมากขึ้นได้เท่านั้น ”